พ.ร.บ. และ ภาษี แตกต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจจะเคยทราบกันมาก่อนว่า เจ้าของรถยนต์จะต้องทำการต่อภาษีประจำปี อย่างสม่ำเสมอ
โดยการต่อทะเบียนนั้น หลายคนอาจจะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง พรบ. และ ภาษีรถยนต์ ทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันยังไง
วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด
พรบ. คืออะไรกันแน่ ?
พรบ. คือ พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง
ภาษีรถยนต์ จำเป็นแค่ไหน
ภาษีรถยนต์ คือ สิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องทำการจ่ายภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี โดยภาษีที่เราจ่ายไปนี้ทางหน่วยงานของรัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมต่อไป อีกทั้งการเสียภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ
สองอย่างนี้แตกต่างกัน >> แต่ต้องทำร่วมกัน ถ้าไม่มีพรบ.ก็ต่อภาษีไม่ได้ ถ้ามีพรบ.แต่ไม่ต่อภาษี ก็จะผิดกฏหมายนั่นเอง
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืม ตรวจสอบรถตนเองอยู่สม่ำเสมอนะครับ ว่าได้ต่อภาษีและซื้อพรบ.เรียบร้อยหรือยัง!!
สงสัยเรื่องประกันภัยปรึกษาตัวแทน FairDee ได้ 24 ชม.เลย!!
สามารถอัพเดตข่าวสารแฟร์ดีและข้อมูลประกันภัย แบบทันใจได้ที่เฟสบุ๊ค FairDee Thailand และ Youtube คลิ๊ก!