ซื้อประกันอย่างไรไม่ให้โดนหลอก
ปัจจุบันการซื้อขายประกันทำได้อย่างง่ายดายหลายช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ ทางโทรศัพท์ โดยลูกค้าและตัวแทนไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันเลยก็ได้ และด้วยเหตุนี้จึงเกิดช่องว่างให้เหล่ามิจฉาชีพมาสวมรวมเป็นตัวแทนมาหลอกให้เหยื่อโอนเงินในหลากหลายรูปแบบ
เราได้รวบกลโกงของมิจฉาชีพที่ใช้เป็นประจำเพื่อหลอกเอาเงินจากคุณ เพื่อคุณจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเหล่ามิจฉาชีพอีกต่อไป
1.สิทธิพิเศษเกินจริง
มิจฉาชีพจะอ้างว่ามีข้อเสนอพิเศษเฉพาะคุณ โดยอาจมักจะอ้างว่าคุณเป็นลูกค้าประกันชั้นดี จะให้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันจนน่าตกใจ หลอกให้คุณติดสินใจโอนเงินให้เร็วที่สุด โดยเน้นย้ำว่าสิทธิพิเศษนี้มีเวลาจำกัด ระวังให้ดีๆเป็นเคสที่โดนกันบ่อยครั้ง อย่าเห็นแต่ผลประโยชน์จนโดนหลอกไม่รู้ตัว
2.หลอกให้โอนเงินเพื่อขอรับ
สินไหมมรณกรรม
มิจฉาชีพได้ปลอมเป็นตัวแทนประกัน โดยหลอกญาติของผู้เสียชีวิตให้โอนเงินค่าใช้จ่ายมาเพื่อดำเนินการในการรับค่าสินไหมมรณะกรรมของผู้เสียชีวิต ซึ่งจริงๆการขอค่าสินไหมมรณกรรม บริษัทประกันจะไม่เรียกร้องให้โอนเงินค่าใช้จ่ายในการขอรับเงินสินไหม และไม่มีการเรียกร้องให้โอนเงินค่าเบี้ยประกันที่ยังค้างชำระ โดยบริษัทประกันจะหักค่าใช้จ่ายจากค่าสินไหมมรณกรรมแทน
3.จ่ายเบี้ย แต่โดนชวด
หลังเก็บค่าเบี้ยประกันและตกลงทำกรมธรรม์กันเรียบร้อย แต่สุดท้ายปรากฏว่าตัวแทนประกันไม่นำเบี้ยประกันไปส่งให้กับบริษัทประกัน เงินก็โดนชวด กรรมธรรม์ก็ไม่ได้ กรณีนี้ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเป็นตัวแทนที่มีใบอนุญาติถูกต้อง
4.ตัวแทนประกันปกปิดข้อมูล
ตัวแทนประกันปกปิดข้อมูลกับผู้ทำประกันภัย เช่น ไม่ให้ตัวแทนประกันตรวจสุขภาพ ซึ่งทำให้ตัวแทนประกันภัยสามารถยกเลิกประกันภัยได้ในภายหลังเพราะอ้างว่าผู้เอาประกันไม่ทำตามสัญญา
ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นและมีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมากแถมพวกมิจฉาชีพมักก็คิดค้นวิธีการใหม่ๆเพื่อมาหลอกคุณได้เสมอ
เรามีวิธีเช็คง่ายๆไม่ให้คุณโดนหลอกอีกต่อไป…
1.เมื่อถูกเสนอขายประกันทุกครั้งต้อง ขอชื่อและหมายเลขใบอนุญาติตัวแทนประกัน โดยสามารถนำไปตรวจสอบได้ที่ http://eservice.oic.or.th ถ้าไม่พบชื่อ หรือชื่อไม่ตรง มิจฉาชีพแน่นอน
2.ตัวแทนประกันต้องมีหนังสือชำระเบี้ยจากบริษัทประกัน เพื่อเป็นการรับรองว่าเงินเบี้ยประกันของเราจะถูกส่งถึงบริษัทประกัน
3.ถ้าซื้อประกันผ่านทางออนไลน์ ต้องตรวจสอบความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์ประกันนั้นๆ โดยดูว่าต้องมีตรารับรอง จากทาง คปภ.
4.ในการเสนอขายประกันทางโทรศัพท์ตามกฎของ คปภ. ตัวแทนจะต้องแจ้งชื่อนามสกุล เลขที่ใบอนุญาต แจ้งบริษัทประกันชีวิตที่สังกัด และที่สำคัญตัวแทนจะต้องแจ้งทันทีว่าจะเสนอขายประกันให้กับผู้ถูกเสนอขายประกัน ถ้าไม่ทำตามนี้ให้คิดว่าเป็นมิจฉาชีพไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย
โดยหลอกไปแล้วทำยังไงดี?
- สามารถแจ้งเรื่องไปที่สายด่วน คปภ. 1186 เพื่อร้องเรียนปัญหา คปภ. จะช่วยในการชดเชยความเสียหายและหาดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป
- ในกรณีที่ผู้ซื้อได้ทำกรรมธรรม์ไปแล้วพบว่าเงื่อนไขความคุ้มครองไม่ตรงกับที่ได้ตกลงกันไว้ทีแรก สามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรรมธรรม์ ซึ่งท่านจะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืน